google-site-verification: google21ff53b6214323df.html ชนิดของเครื่องสูบน้ำแบบหอยโข่ง
dot
dot
dot
dot
dot


ชนิดของเครื่องสูบน้ำแบบหอยโข่ง article

ชนิดของเครื่องสูบน้ำแบบหอยโข่ง

ลักษณะของเครื่องสูบน้ำชนิดหอยโข่ง

    โดยปกติเราจะใช้ตัวแปร 4 ตัวแปร เป็นเครื่องบอกลักษณะการทำงานของเครื่องสูบน้ำแต่ละขนาด ลักษณะการทำงานของเครื่องสูบน้ำแต่ละขนาดโดยใช้ตัวแปร 4 ตัวเป็นตัววัดเรียกว่า พฤติลักษณะ (characteristic) ของเครื่องสูบ ตัวแปรเหล่านี้ได้แก่อัตราการสูบ, เฮดหรือความสูงของน้ำที่สามารถส่งขึ้นไปได้, กำลังที่เพลา และประสิทธิภาพ

1.  อัตราการสูบ (Flow Rate) หมายถึง ปริมาณ หรือจำนวนของน้ำที่เครื่องสูบแต่ละเครื่องสูบได้ต่อหน่วยของเวลา โดยมากจะใช้หน่วยของอัตราสูบ ลบ.ม. /ชม. หรือ ลิตร/นาที อย่างไรก็ตามขนาดของเครื่องสูบนิยมเรียกตามขนาดของท่อดูด ดังนั้นมาตรฐานอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (JIS) จึงได้จัดทำตารางเครื่องสูบที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างขนาดท่อดูดที่เหมาะสมที่อัตราการสูบหนึ่งๆ

2.  เฮด (Head) คือแรงดัน หรือความสูงที่เครื่องสูบน้ำทำได้ ถือเป็นธรรมเนียมว่าให้ใช้ หน่วยความสูงของน้ำที่เป็นค่าเฮด และใช้หน่วยเป็นเมตร (ม.) พฤติลักษณะของเครื่องสูบแบบโวลูทก็คือ อัตราการไหลจะเป็นปฎิภาคกลับกับเฮด หรืออีกนัยหนึ่งก็คือว่าถ้าอัตราการไหลสูงเฮดจะต่ำ และถ้าอัตราการไหลต่ำเฮดจะสูง เราสามารถสร้างชาร์ตแสดงความสัมพันธ์ของอัตราการไหลกับเฮดได้โดยให้เฮดอยู่ในแนวแกนตั้ง และอัตราการไหลในแนวแกนนอน อัตราการไหลที่เฮดต่าง ๆ เมื่อกำหนดแต่ละค่า และเชื่อมต่อจุด (พลอต) 

3.  กำลังเพลา (Shaft power) กำลังของเครื่องดันกำลังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการขับเพลาของเครื่องสูบน้ำให้หมุนตามรอบที่กำหนด กำลังเครื่องฉุดถ่ายทอดผ่านเพลาไปสู่เพลาของเครื่องสูบน้ำ เรียกว่า กำลังเพลา ถ้าเราจะสร้างชาร์ตแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างกำลังเพลากับอัตราการไหล เราก็สามารถทำได้เช่นเดียวกับชาร์ตแสดงความสัมพันธ์ของเฮดกับอัตราการไหล โดยให้แกนนอนเป็นอัตราการไหลเหมือนเดิม แต่ให้แกนตั้งเป็นกำลังเพลาแทน ในกรณีเช่นนี้กราฟจะโค้งตกจากขวาไปซ้าย กำลังของเครื่องสูบจะต้องมีมากพอที่จะชดเชยกำลังที่สูญเสียไปในเพลา โดยปกติแล้วจะใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นเครื่องดันกำลัง ในกรณีอย่างนี้จะคิดเป็นกิโลวัตต์ (kW) แต่ถ้าเป็นเครื่องสูบเป็นเครื่องยนต์กำลังสูบคิดเป็นแรงม้า (PS)

4.  ประสิทธิภาพ (Efficiency) สัดส่วน (ratio) ของงานที่ได้จากเครื่องสูบ (หมายถึง กำลังที่ใช้ในการยกน้ำทางทฤษฎี) เมื่อเปรียบเทียบกับกำลังของเพลาที่ได้จากเครื่องฉุด เรียกว่าประสิทธิภาพ ค่านี้มักจะแสดงหน่วยเป็นเปอร์เซนต์(%) เส้นโค้งแสดงพฤติลักษณะของเครื่องสูบน้ำเมื่อใช้แกนตั้งเป็นประสิทธิภาพ และแกนนอนเป็นอัตราการไหล

ชนิดของเครื่องสูบน้ำแบบหอยโข่ง

ปั๊มแบบแรงเหวี่ยง (Centrifugal Pump)

          เป็นปั๊มประเภทที่สามารถผลิตเฮดน้ำ โดยการเพิ่มความเร็วของของน้ำซึ่งได้จากการหมุนของใบพัดไปตามตัวเรือนของปั๊ม อัตราการไหลของน้ำจะแปรผันตามความดันด้านขาออก (Discharge) เช่น End suction pump, In-line pump, Double suction pump, Vertical multistage pump, Horizontal multistage pump, Submersible pumps, Self-priming pumps, Axial-flow pumps, และ Regenerative pumps

1. End Suction เป็นปั๊มที่ให้ปริมาณน้ำมาก สามารถส่งสูงในระดับหนึ่ง จึงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย วัสดุปั๊ม และใบพัด สามารถเลือกได้ ตามความจำเป็นของการใช้งาน สามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย เช่น การระบายน้ำชลประทาน การดับเพลิง การก่อสร้าง การบำบัดน้ำเสีย การประปา การเกษตร เป็นต้น **ดาวน์โหลดแค๊ตตาล็อก

2. Self Priming  เป็นปั๊มน้ำหอยโข่งแบบล่อน้ำได้ด้วยตัวเอง ใบพัดชนิด semi open (Non-Clog) เหมาะสำหรับงานสูบของเหลวสกปรก ที่มีกากหรือเส้นใย โดยไม่เกิดการอุดตัน ใช้ในโรงงานอุตสหกรรมและสำหรับงานระบายน้ำท่วม ระบบบำบัดน้ำ การสูบน้ำเสีย รวมถึงงานอื่น ๆ **ดาวน์โหลดแค๊ตตาล็อก

3. Split Case เป็นปั๊มแบบ Double suction เหมาะกับงานส่งน้ำระยะไกล ระบบปรับอากาศ/ระบบทำความร้อน ระบบประปา โรงงานทำความเย็น ทำความร้อนแบบรวมศูนย์ ระบบทำความเย็น การประปา การทำความเย็น กระบวนการแปรรูป การชลประทาน การดับเพลิง เป็นต้น 

 

 




บทความ ข่าวสาร เกร็ดความรู้

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเครื่องสูบน้ำหอยโข่ง article
นิทรรศการ OREC NIRTUAL! article
ส่วนประกอบหลักของชุดเครื่องสูบน้ำ article
การติดตั้งเครื่องสูบนํ้าให้อยู่ในตำแหน่งที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ article
การแก้ไขข้อขัดข้องของเครื่องสูบน้ำหอยโข่ง article
การติดตั้งเครื่องสูบน้ำแบบไฟฟ้า article